โดยฝ่ายเทพนำโดยพระอินทร์ ได้พยายามทุกวิธีทางเพื่อจะยึดสวรรค์มาให้ได้ เมื่อสู้ยังไงก็สู้ไม่ได้พระอินทร์ก็เลยไปขอความช่วยเหลือจาก พระนารายณ์ (พระวิษณุ) ซึ่งพระนารายณ์ก็แนะนำให้ไปทำ"พิธีกวนเกษียรสมุทร" คำว่า“เกษียรสมุทร” แปลว่า“ทะเลน้ำนม”เป็นสถานที่อยู่ของพระนารายณ์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเขาพระสุเมรุ โดยชื่อทะเลน้ำนมนี้มาจากลักษณะพื้นน้ำที่เป็นสีเงินยวงราวกับน้ำนม เพราะได้รับรัศมีแห่งอัญมณีสีเงินยวงจากเขาพระสุเมรุมาทาบทับ เพื่อให้ได้น้ำอมฤตมาดื่มจะได้มีพลังและไม่มีวันตาย แต่การจะกวนกวนเกษียรสมุทรได้ จะใช้แค่ฝ่ายเทพก็ไม่พอเพราะต้องใช้กำลังพลเยอะมาก พระอินทร์เลยออกบุบายทำสัญญาสงบศึกกับพวกยักษ์และชักชวนกันมาทำการกวนเกษียรสมุทร ได้น้ำอมฤตมาเท่าไรเราค่อยมาแบ่งกัน จากนั้นพระอินทร์ก็ให้นาควาสุกรีมาช่วยใช้ลำตัวเป็นเชือกเพื่อใช้ในการชัก
เมื่อเริ่มพิธีกวนเกษียรสมุทร ได้ใช้ภูเขามันทรคีรีมาตั้งบนทะเลน้ำนมที่อยู่ในไวกูณฑ์สวรรค์ โดยพระอิทร์คิดไว้อยู่แล้วว่าถ้าชักนาคเมื่อไรนาคจะต้องเจ็บปวดมากและต้องพ้นพิษออกมาแน่ๆ พระอินทร์จึงให้ยักษ์อยู่ทางหัวของนาค และให้เทพอยู่ทางหาง เมื่อเริ่มกวนนาคก็พ้นไฟพิษมาโดนยักษ์ ต่างก็ทรมานทั้งยักษ์ทั้งนาค จะมีสบายก็แต่เทพ ชักแบบชิวๆ พิธีกรรมนี้ใช้เวลาชักเป็นพันๆปีกว่าจะได้น้ำอมฤต และในระหว่างนี้ก็มีของวิเศษหลายอย่างที่ได้ออกมาก่อนน้ำอมฤต คือ
1.ดวงจันทร์ (พระศิวะเอาไปปักผม)
2.เพชรเกาสตุภะ
3.ดอกบัวลอยขึ้นมาพร้อมพระลักษมี
4.วารุณี เทวีแห่งสุรา
5.ช้างเผือกเอราวัณ (พระอินทร์เอาไปใช้)
6.ม้าอุจฉัยศรพ
7.ต้นปาริชาติ
8.โคสุรภี หรือ โคอุสุภราช พร้อมของหอม
9.หริธนู
10.สังข์
11.ปวงเทพีอัปสรสวรรค์ (มีนางอัปสรออกมาเยอะมาก พระอินทร์เอาคนเดียวไม่แบ่งใคร)
12.พิษร้าย ฝูงนาคและงูสูบพิษไว้
13.ธันวันตริ แพทย์สวรรค์
14.หม้อน้ำทิพย์อมฤต
เมื่อกวนจนได้น้ำอมฤตแล้วพวกยักษ์เห็นนางอัปสรซึ่งสวยมาก ก็พากันไล่จับนางอัปสร ในระหว่างที่พวกยักษ์ไล่จับนางอัปสร พวกเทพก็ดื่มน้ำอมฤต แต่ยังมีพระราหูที่ไม่ไปไล่จับนางอัปสร ก็มารอดื่มน้ำอมฤต ในระหว่างที่พระราหูกำลังดื่มอยู่นั้น พระอาทิตย์กับพระจันทร์เห็นจึงไปฟ้องพระนารายณ์ พระนารายณ์เลยขว้างจักรมาตัดหัวพระราหู แต่ด้วยอำนาจของน้ำอมฤตที่ดื่มไปทำให้พระราหูไม่ตาย แต่เหลือเพียงหัวจนถึงทุกวันนี้ กว่าพวกยักษ์จะรู้ว่าตัวเองโดนหลอก น้ำอมฤตก็หมดแล้ว
และในวันนี้บทความนี้จะกล่าวถึง ดวงจันทร์ซึ่งเป็นปิ่นของพระศิวะ ☽
ที่มา : https://www.horolive.com/500.html
ปิ่นพระศิวะ
"ดวงจันทร์" เป็นของวิเศษจากทั้ง 14 อย่าง ที่ได้จากพิธีกวนเกษียรสมุทร พระศิวะได้นำไปปักไว้บนเกศา ซึ่งกลายเป็นลักษณะที่สำคัญของพระศิวะ นอกจากที่มีของปิ่นปักผมของพระศิวะบ้างก็ว่าเกิดจาก พระอิศวรบังคับให้พระจันทร์ส่งนางดาราคืนให้พระพฤหัสบดี แต่ว่าตอนนี้นางดารามีครรภ์กับพระจันทร์บ้างแล้วละ ต่อมาก็เกิดกุมารมีนามว่าพระพุธ ส่วนพระจันทร์ก็เกิดความว้าเหว่เอ้กา จึงไปอ้อนวอนพระอิศวร พระอิศวรสงสารเอาพระจันทร์มาเป็นปิ่นปักผม เข้าไปในหมู่สังคมเทวดา พระอิศวรจึงได้นามว่า จันทรเศขร แปลว่าทัดพระจันทร์เป็นปิ่น ส่วนพระจันทร์ได้นามกรว่า ศิวเศขร แปลว่าเป็นปิ่นพระศิวะ
เนื่องดวงจันทร์เป็นลักษณะสำคัญของพระศิวะ จึงขอนำเสนอสาระเกี่ยวกับพระศิวะสักเล็กน้อยค่ะ
"พระศิวะ"
พระศิวะ หรือ พระอิศวร (หนึ่งในตรีมูรติหรือเทพเจ้าสูงสุดสามองค์ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู (อีกสององค์ได้แก่ พระพรหมและพระวิษณุ)
ที่มา : https://www.siamganesh.com/books/vighanesa/book-vighanesa-L.html
พระศิวะ (คนไทยเรียกว่า พระอิศวร) พระศิวะ พระศิวะทรงเป็นมหาเทพผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล หนึ่งใน ตรีมูรติ หรือ 3 มหาเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (พระพรหม พระวิษณุ พระศิวะ) คือผู้เป็นพระเป็นเจ้าแห่งการทำลายล้าง มีอำนาจในการทำลายทุกสรรพสิ่งและ เป็นเป้าหมายอันสูงสุดแห่งการปฏิบัติธรรมของไศวะนิกาย เป็นบิดาของ พระพิฆเนศ มีชายาคือ พระแม่อุมาเทวี พาหนะแห่งพระศิวะ (นนทิ, นันทิ)
ด้านศิลปะ
พระศิวะทรงเป็นเทพเจ้าแห่งการทำลาย ในลัทธิไศวนิกายทรงเป็นปรมาตทันสูงสุด
การสร้างรูปสื่อแทนพระศิวะ มี 2 รูปแบบ คือ
1.ลึงค์ และมุขลึงค์ คือรูปอวัวยะเพศชาย แทนการกำเนิด เป็นสัญลักษณ์ในการบูชา
2.รูปมนุษย์ มีสองรูปแบบคือ "แบบสงบ" ในรูปฤาษี ทำสมาธิ และ "แบบเต้นรำ" ในภาคของศิวนาฎราช
ลักษณะของพระศิวะผู้มีพระจันทร์เป็นปิ่นปักผม
- รูปกายเป็นชายหนุ่มร่างกำยำ วรรณะขาว (สีผิวขาว)
- นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี
- มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์
- มีงูเห่าคล้องพระศอ
- ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) สมัยเมืองพระนคร มวยผมเป็นทรงกระบอกเส้นผมประดิษฐ์เป็นวงโค้งรูปตัวยู ผิดธรรมชาติ มีกระบังหน้า
- มีพระจันทร์เป็นปิ่น มีคงคาอยู่บนยอดจุฑา ซึ่งพ่นน้ำมาตลอด
- มีดวงพระเนตร (ตาที่ 3) กลางพระนลาฏ (หน้าผาก) ซึ่งโดยปกติจะปิดอยู่เสมอ เชื่อว่าหากเปิดขึ้นเมื่อไหร่ ไฟบรรลัยกัลป์จะเผาผลาญล้างโลก (บ้างว่าเป็นพระพรหม) ถือว่าเป็นการสิ้นสุดกัปหนึ่ง ก่อนที่พระพรหมจะสร้างโลกขึ้นมาใหม่
- มีพาหนะคือโคนนทิ (วัวเพศผู้สีขาวล้วน)
รูปลักษณ์ของพระศิวะนั้น มีปรากฏมากมายหลายลักษณะด้วยกัน แต่จุดเด่นที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระศิวะก็คือ รูปพระจันทร์เสี้ยวและดวงตาดวงที่ 3 บนหน้าผาก สร้อยประคำที่เป็นหัวกะโหลก และงูที่คล้องพระสอหรือคอของพระองค์อยู่นั้น ก็ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระศิวะที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายแต่สำหรับพระศิวะนั้น กล่าวได้ว่า รูปลักษณ์ของพระองค์ค่อนข้างจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่สามารถสังเกตได้ง่าย ไม่สับสนเหมือนกับจดจำรูปลักษณ์ของมหาเทพองค์อื่นๆ
ตัวอย่างงานศิลปกรรมของพระศิวะ
หากเราจะสังเกตงานศิลปะของพระศิวะ สามารถดูได้จากลักษณะของพระศิวะต้อง นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น
ตัวอย่างงานศิลปะของพระศิวะที่มีพระจันทร์เป็นปิ่นปักผม
ที่มา : http://www.wikiwand.com/th
เทวรูปพระศิวะริมแม่น้ำคงคา ที่บังคาลอร์ ประเทศอินเดีย วิมาน เขาไกรลาส อาวุธ ตรีศูล
สัตว์พาหนะ โคนนทิ คู่ครอง พระปารวตี บุตร พระพิฆเนศ พระขันธกุมาร
ที่มา : http://www.wikiwand.com/th
ประติมากรรมนูนต่ำกึ่งลอยองค์ของพระศิวะและพระแม่ปารวตีประดับโคปุรัม ประเทศอินเดีย
ที่มา : ru.depositphotos.com
เมืองฤาษีเกษ เป็นเมืองที่เป็นแหล่งชุมนุมของบรรดานักบวช ฤาษี หลายลัทธิและศาสนา ต่างมาปฏิบัติตนเพื่อบรรลุโมกขธรรมตามศาสนาของตน มี สะพานลักษมันจุฬา ซึ่งกล่าวกันว่าเป็นสถานที่ที่พระลักษณ์ใช้เป็นที่ข้ามแม่น้ำ ณ จุดสะพานนี้เองเราสามารถมองเห็นอาศรมฤาษี และเหนือขึ้นไปจากจุดนี้เป็นที่บำเพ็ญเพียรของพระศิวะ
ที่มา : https://www.appannie.com/ru/apps/google-play/app/com.app3dwallpaperhd.lordshivawallpaper/
ภาพวาดของพระศิวะ นุ่งห่มหนังเสือเหมือนฤๅษี มีสังวาล์เป็นลูกประคำหรือกะโหลกมนุษย์ มีงูเห่าคล้องพระศอ ไว้พระเกศายาว ซึ่งจะม้วนเป็นจุฑา (มวยผม) มีพระจันทร์เป็นปิ่น
ตังอย่างข้างต้นเราจะสามารถสังเกตเห็นดวงจันทร์ซึ่งเป็นปิ่นปักผมของพระศิวะได้ชัดเจน แต่นอกจากนั้นหากอยากรับชมงานศิลปะของพระศิวะเพิ่มเติมขอแนะนำ
ประติมากรรมบนเกาะเอเลฟันตะ เพื่อบูชาแก่เทพในศาสนาฮินดูตามที่ทรงศัทธา โดยถ้ำที่โดดเด่นที่สุด คือ “ถ้ำประธาน” เป็นที่ประดิษฐาน “มเหศวรมูรติ” ภาพแกะสลักที่นูนสูงมากจนเกือบลอยตัวเพื่อบอกเล่าเรื่องพระศิวะผู้ยิ่งใหญ่ในสามภาค ได้แก่
ภาคผู้สร้าง (จันทรเศขรมูรติ) ภาคผู้ปกป้องรักษา (อุมาภควดี) และภาคผู้ทำลาย (ไภรวะมูรติ)
ที่มา : https://travel.thaiza.com/amaze/183105/
นอกจากนี้ ยังมีภาพแกะสลักเทพปกรณัมในลัทธิไศวนิกายที่น่าสนใจปรากฏภายในถ้ำอีก เช่น ภาพพิธีสยุมพรพระศิวะและพระนางปารตี, ภาพพระศิวะปราบอันธกาสูร, ภาพพระศิวะในภาคที่ครึ่งหนึ่งเป็นบุรุษครึ่งหนึ่งเป็นสตรี เป็นต้น
อ้างอิง
เชษฐ์ ติงสัญชลี.(2558).ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.นนทบุรี:มิวเซียมเพรส.
เชษฐ์ ติงสัญชลี.(2558).ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.นนทบุรี:มิวเซียมเพรส.
ศิลปะไทย.(ม.ป.ป).เรื่องเล่ากับพระจันทร์.(ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561.จาก
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.(2554).ปิ่นพระศิวะ.(ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561.จาก http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%
Ch3 Thailand.(ม.ป.ป).มองมุมไบ:“ถ้ำเอเลฟันตะ”ประติมากรรมแห่งความศรัทธาบนแผ่นผา.(ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561.จาก http://www.ch3thailand.com/news/series/11874
lookhin. (2555). ตำนานการกวนเกษียรสมุทร. (ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561. จาก https://www.unzeen.com/article/1976/
Wikiwand.(ม.ป.ป).พระศิวะ.(ออนไลน์).สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561.จาก http://www.wikiwand.com/th/%E0%B8%9E%E0%